loader image

แบตเตอรี่แห้งเลือกอย่างไร? และควรใช้แบบไหนดี?

แบตเตอรี่แห้งเลือกอย่างไร? และควรใช้แบบไหนดี?

แบตเตอรี่แห้ง คืออะไร

แบตเตอรี่แห้ง ” หรือ (Sealed Maintenance Free Battery – SMF) คือ แบตเตอรี่รูปแบบหนึ่ง ที่นิยมใช้กับ ยานพาหนะตั้งแต่รถยนต์โดยสารทั่วไปถึง รถบรรทุก รถหัวลาก รถบัส ทั้งยุโรปและรถญี่ปุ่น โดยจุดเด่นสำคัญอยู่ที่การไม่ต้องเติมน้ำกลั่นเพิ่มตลอดอายุการใช้งาน นับเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของแบตเตอรี่รถในปัจจุบันที่มีให้เลือกหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่รถยนต์แบบดั้งเดิมที่ต้องคอยเติมน้ำกลั่นหรือที่รู้จักกันในชื่อ “แบตเตอรี่น้ำ” (Conventional Battery) หรือแบตเตอรี่รุ่นใหม่ที่ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นบ่อยๆ แบบ “แบตเตอรี่กึ่งแห้ง” (Maintenance Free Car Battery – MF) แล้วแบตเตอรี่แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร? เรามีข้อมูลอยากมาแชร์ให้ทุกท่านได้ทราบ

“แบตเตอรี่แห้ง” ดีอย่างไร?

             แบตเตอรี่แห้ง (Sealed Maintenance Free Car Battery – SMF) คือ แบตเตอรี่แบบกรดตะกั่วอีกประเภทหนึ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดขั้นตอนในการดูแลรักษาแบตเตอรี่ ไม่ว่าจะเป็นการที่ไม่มีช่องสำหรับเปิด-ปิดเพื่อเติมน้ำกลั่นแบบที่มีในแบตเตอรี่รถทั่วไป ซึ่งจะช่วยลดโอกาสที่น้ำกรดภายในแบตเตอรี่จะระเหยออกมาทำลายเครื่องยนต์ ตลอดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่แห้งที่มากกว่าแบตเตอรี่น้ำ ทำให้แบตเตอรี่ประเภทนี้มีราคาสูงกว่าแบตเตอรี่ทั่วไป อย่างไรก็ตามแบตเตอรี่แห้ง อาจไม่ได้แห้งสนิทตามชื่อที่เรียก เพราะภายในแบตเตอรี่แห้งบางรุ่นหรือบางยี่ห้ออาจจะมีของเหลวที่ทำหน้าที่เป็นอิเล็กโทรไลต์ของแบตเตอรี่แห้งปนอยู่

ไม่ว่าจะเป็นกรดแบบตะกั่ว หรือของเหลวที่มีลักษณะคล้ายเจล ซึ่งการใช้เจลเป็นตัวอิเล็กโทรไลต์แทนน้ำกรดนั้นจะช่วยลดอัตราการสูญเสียน้ำ เเละเพิ่มการกักเก็บแก๊สไฮโดรเจนและออกซิเจนที่เกิดขึ้นระหว่างการใช้งานให้แปรสภาพกลับไปเป็นน้ำ ทำให้ลดความถี่ในการเติมน้ำกลั่น หรือไม่ต้องเติมน้ำกลั่นเพิ่มเติมตลอดอายุการใช้งานนั่นเอง ดังนั้น จากแบตเตอรี่แบบแห้งส่วนใหญ่จะไม่มีรูที่ใช้สำหรับสำหรับเติมน้ำกลั่น

“แบตเตอรี่แห้ง” เป็นที่รู้จักเเละถูกเรียกโดยย่อในหลากหลายชื่อ เช่น แบตเตอรี่แบบไม่ต้องเติมน้ำกลั่น, แบตเตอรี่แบบซีล (Sealed Maintenance Free) หรือแบตเตอรี่ VRLA (Valve Regulated Lead Acid)

แต่มักถูกเข้าใจผิดกับ “แบตเตอรี่เมนเทแนนซ์ฟรี” (Maintenance Free Car Battery – MF) หรือมักถูกเรียกโดยทั่วไปว่า “แบตเตอรี่กึ่งแห้ง” ซึ่งเป็นแบตเตอรี่ที่ยังสามารถเติมน้ำกลั่นได้อยู่ เเต่มีการระเหยตัวของน้ำกรดที่ช้ากว่าแบตเตอรี่น้ำ ทำให้ไม่จำเป็นต้องเติมน้ำกลั่นบ่อยครั้ง โดยที่จะต้องตรวจเช็คอย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อปี หรือ ทุกๆ 6 เดือน เเละอายุการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 1 – 2 ปี หรือไม่เกิน 3 ปีทั้งนี้ แบตเตอรี่แห้งจะได้รับการเติมน้ำกรดและชาร์จไฟตามมาตรฐานโรงงานผลิตมาเรียบร้อยเเล้ว

แบตเตอรี่แห้ง? แบตเตอรี่น้ำ? แบบไหนดีกว่ากัน?

แบตเตอรี่แห้ง (Sealed Maintenance Free Car Battery - SMF)

“ ข้อดีคือ “ 

  • ไม่ต้องคอยเติมน้ำกรดหรือน้ำกลั่นแต่อย่างใดตลอดอายุการใช้งาน และมีน้ำหนักที่เบากว่าแบตเตอรี่น้ำ
  • สามารถวางแบตเตอรี่แห้งในทิศทางใดก็ได้โดยที่สารเคมีจะไม่หกไหลออกมา เนื่องจากแบตเตอรี่แห้งได้รับการซีลห่อหุ้มไว้เป็นอย่างดี

“ ข้อเสียคือ “

  • ราคาสูงกว่าแบตเตอรี่น้ำ
  • รวมถึงแบตเตอรี่แห้งเป็นแบตเตอรี่ระบบปิด และมีช่องทางระบายเพียงช่องเดียวและมีขนาดเล็ก จึงทำให้มีโอกาสอุดตันได้โดยง่าย และเมื่ออุดตันจะเกิดปัญหาแรงดันภายในหรือความร้อนสะสมมาก หากเป็นแบตเตอรี่แห้งแบบปิดผนึกซีล เมื่อซีลหลุดลอกอาจทำให้ความชื้นเข้าสะสมภายในและทำความเสียหายให้กับแบตเตอรี่ได้

แบตเตอรี่รถยนต์แบบน้ำ (Wet Battery)

“ ข้อดีคือ “

  • ราคาถูกกว่าแบตเตอรี่แห้ง และแบบกึ่งแห้ง
  • ทนทานต่อการรับโหลดทั้งการประจุและคายประจุ
  • หากมีการดูแลที่ดีจะสามารถยืดของอายุการใช้งานได้นานขึ้น

“ ข้อเสียคือ “

  • เสียเวลาต้องหมั่นดูแลรักษาแบตเตอรี่อยู่บ่อยๆ
  • ต้องหมั่นเติมน้ำกลั่น
  • โอกาสเกิดขี้เกลือสูง
  • ต้องระวังการรั่วไหลของสารละลายซึ่งเป็นกรดสูง สามารถทำลายสีของรถ รวมถึงตัวถังภายในเครื่องยนต์ได้

เลือกอย่างไรดี แบตเตอรี่แห้งถึงจะเหมาะกับรถคุณ

  1. ควรเลือกแบตเตอรี่ที่มีค่าความจุ ของแบตเตอรี่ ที่มีค่าเท่ากัน หรือมากกว่า ที่คู่มือรถกำหนด
  2. ค่า CCA หรือค่ากระแสสูงสุดที่แบตเตอรี่ที่ลูกนั้นสามารถจ่ายไฟได้ 30 วินาที
  3. รูปทรงของแบตเตอรี่ ขนาดของแบตเตอรี่ ต้องเลือกให้ตรงกับขนาดของช่องเก็บแบตเตอรี่
  4. เลือกดูแบตเตอรี่ที่มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมตอบโจทย์กับการใช้งานทุกด้าน ตัวอย่างเช่น ความปลอดภัย และ ความคุ้มค่าในการใช้งาน

ข้อดีของการใช้งานแบตเตอรี่แบบ BOUCH SMF

SMF-DUAL-COVER

เทคโนโลยี ฝาครอบคู่ ( Dual Cover with Labyrinth Design )  เป็นเทคโนโลยีที่ถูกออกแบบให้ฝาปิดของแบตเตอรี่นั้นเป็นรูปแบบเขาวงกต เพื่อลดการระเหยของน้ำกลั่นในระหว่างการทำงานของแบตเตอรี่จากนั้นจะรวบรวมไอของอิเล็กโทรไลต์ ส่งของเหลวกลับมายังอ่างเก็บน้ำ

Calcium-Calcium

ตะกั่วผสมแคลเซียม หรือ CA-CA (Calcium-Calcium) เป็นเทคโนโลยี ตะกั่วผสมแคลเซียมทั้งสองด้านในโครงแผ่นธาตุ บวกและลบ Calcium ที่อยู่ในแผ่นธาตุจะช่วยลด การเกิดแก๊สในระหว่างที่แบตเตอรี่ทำงาน จึงทำให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่ยาวนานขึ้น ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีอื่นๆ อีกด้วย

Flame-arrestor

เทคโนโลยี ฝาครอบคู่ ( Dual Cover with Labyrinth Design )  เป็นเทคโนโลยีที่ถูกออกแบบให้ฝาปิดของแบตเตอรี่นั้นเป็นรูปแบบเขาวงกต เพื่อลดการระเหยของน้ำกลั่นในระหว่างการทำงานของแบตเตอรี่จากนั้นจะรวบรวมไอของอิเล็กโทรไลต์ ส่งของเหลวกลับมายังอ่างเก็บน้ำ

micro-grain

ไมโครเกรน ( Micro-grain ) โครงสร้างไมโครเกรนป้องกันการกัดกร่อนของกริดช่วยให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น

Indicator-Sign

ไฮโดรมิเตอร์ ( Hydrometer ) อุปกรณ์ช่วยแสดงสถานะ การชาร์จของแบตเตอรี่และบอกระดับความถ่วงจำเพาะของน้ำกรดภายในแบตเตอรี่

  • ตาแมวปรากฎสีเขียว แสดงถึง แบตเตอรี่ไฟเต็ม (Full Charge)
  • ตาแมวปรากฎสีดำ แสดงถึง แบตเตอรี่ไฟอ่อน ควรชาร์จ (Recharge Battery)
  • ตาแมวปรากฎสีขาว แสดงถึง ควรตรวจเช็คสภาพของแบตเตอรี่ ( Need to be checked )

Demo Title

Demo Description


Introducing your First Popup.
Customize text and design to perfectly suit your needs and preferences.

This will close in 10 seconds